เมนู

ที่ประกอบ ด้วยอำนาจปัจจัย 7 ปัจจัย1ที่เหลือเว้นวิปากปัจจัย, เป็น
ปัจจัยแก่เวทนาที่ประกอบกับชวนะเป็นลำดับไป คือชวนะดวงที่ 2 ด้วย
อำนาจปัจจัย 5 ปัจจัย2เหล่านั้นเหมือนกัน, เป็นปัจจัยแก่ชวนะที่เหลือ
คือชวนะดวงที่ 3-7 ด้วยอำนาจอุปนิสัยปัจจัยเท่านั้น.

ขันธ์ 5


4] วิสัชนา 5 มีวิสัชนาในรูปเป็นต้น พระธรรมเสนาบดี-
สารีบุตรแสดงด้วยสามารถแห่งขันธ์.
ธรรมชาติใด ย่อมเสื่อมสลาย ย่อมถูกเบียดเบียนด้วยวิโรธิปัจจัย
มีความเย็นเป็นต้น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า รูป.
ธรรมชาติใด ย่อมเสวยอารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า
เวทนา.
ธรรมชาติใด ย่อมจำอารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า
สัญญา.
ธรรมชาติใด ย่อมปรุงแต่ง ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า
สังขาร.
1. สหชาตะ, อัญญมัญญะ, นิสสยะ, อาหาระ, สัมปยุตตะ, อัตถิ, อวิคตะ.
2. อนันตระ, สมนันตระ, อนันตรูปนิสสยะ, นัตถิ, วิคตะ.

ธรรมชาติใด ย่อมรู้อารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า
วิญญาณ.

ธรรมหมวด 6


วิสัชนา 60 มีวิสัชนาในจักขุเป็นต้น มีธรรมวิจารเป็นที่สุด
ด้วยสามารถแห่งหมวด 6 หมวดละ 10 พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร
แสดงโดยความเป็นปิยรูปสาตรูป.
เวทนา มีเวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสเป็นต้นกับทั้งธรรมที่สัมป-
ยุตด้วย.
ความสำคัญในรูป ชื่อว่า รูปสัญญา.
ธรรมชาติใด ย่อมตั้งใจในอารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น
ชื่อว่า สัญเจตนา. อธิบายว่า ย่อมมุ่งสู่อารมณ์.
ธรรมชาติใด ย่อมกระหาย ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า
ตัณหา. อธิบายว่า ย่อมอยาก.
ธรรมชาติใด ย่อมตรึกซึ่งอารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น
ชื่อว่า วิตักกะ อีกอย่างหนึ่ง ความตรึก ชื่อว่า วิตักกะ, ท่าน
อธิบายไว้ว่า การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์.